พาส่อง ประเภทสายพานลำเลียงสินค้าในระบบอุตสาหกรรม (สายพาน conveyor belt)

ทำความรู้จักกับประเภทสายพานลำเลียง (สายพาน conveyor belt)
พร้อมวิธีการเลือกใช้งานสายพานลำเลียงแบบไหนดี?

ประเภทสายพานลำเลียงสินค้า

สายพานลำเลียงหรือสายพานคอนเวเยอร์ (สายพาน Conveyor Belt) เป็นส่วนหนึ่งในระบบลำเลียงที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ด้วยความสะดวกรวดเร็วในไลน์ผลิต การประกอบชิ้นส่วน หรือการขนส่งในโรงงานอุตสาหกรรม การใช้งานสายพานลำเลียงมีข้อดีตรงที่สามารถควบคุมอัตราเร็วได้อย่างแม่นยำ ประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อม ๆ กับการได้รับประสิทธิภาพสูง ซึ่งนอกจากระบบลำเลียงหรือสายพานลำเลียงจะนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังสามารถนำไปใช้งานในอุตหกรรมอื่นได้อีก เช่น สายพานลำเลียงขนส่งอาหารสายพานลำเลียงสัมภาระในสนามบิน สายพานลำเลียงในท่าเรือและระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น

การใช้งานระบบลำเลียงด้วยสายพานลำเลียงนั้น สามารถนำไปติดตั้งกับพื้นที่ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ขนาดใหญ่หรือพื้นที่จำกัดซึ่งสามารถออกแบบและเลือกใช้งานได้ทั้งการลำเลียงในแนวระนาบ และการลำเลียงในแนวลาดชันเพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้เป็นอย่างดี

ประเภทสายพานลำเลียง (สายพาน Conveyor Belt) ในระบบอุตสาหกรรม

  1. สายพานลําเลียงแบบลูกกลิ้ง (Roller Bed Conveyor Belts)
    เป็นรูปแบบสายพานลำเลียงที่พบได้ทั่วไป โดยมีส่วนประกอบหลักคือลูกกลิ้งที่รองอยู่ใต้สายพาน สำหรับการเลือกใช้งานและการออกแบบสายพานลำเลียงนั้น จะต้องพิจารณาจากประเภทของสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการลำเลียง เพราะรูปแบบของลูกกลิ้ง จำนวนลูกกลิ้งที่ใช้ และการคำนวณการรับน้ำหนักของลูกกลิ้ง จะสัมพันธ์กับความเร็วและการรับแรงกระแทกของสายพานในการลำเลียงสายพานลำเลียงแบบ
    ลูกกลิ้ง เหมาะกับงานลำเลียงที่ไม่ได้มีความเฉพาะเจาะจงหรือความระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมของการขนส่งพัสดุ และ
    ระบบจัดสัมภาระภายในสนามบิน


    สายพานลําเลียงแบบลูกกลิ้ง
  2. สายพานลําเลียงแบบแบน (Flat Belt Conveyors)
    สายพานลําเลียงแบบแบน เป็นหนึ่งในระบบสายพานลำเลียงที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน มีลักษณะเรียบแบน ขับเคลื่อนด้วยรอกไฟฟ้าให้สายพานลำเลียงได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับการลำเลียงสิ่งของภายในอาคารหรือภายในโรงงานอุตสาหกรรม มีวัสดุตัวสายพานเป็นประเภทวัสดุธรรมชาติ หรือผ้าใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ ไนลอน เป็นต้น สายพานลำเลียงแบบแบน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เพราะมีรูปแบบสายพานที่แบนและเรียบ มีความต่อเนื่อง และไม่เกิดแรงกระแทก จึงสามารถนำไปลำเลียงสิ่งของขนาดเล็ก ของที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม รูปร่างไม่สม่ําเสมอและน้ําหนักเบา เช่น พัสดุไปรษณีย์ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้โดยไม่เกิดความเสียหาย ตัวอย่างเช่น ระบบลำเลียงภายในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบลำเลียง
    ไลน์การผลิตที่มีการประกอบชิ้นส่วน หรือลำเลียงส่วนประกอบที่มีน้ำหนักเบา เป็นต้น

    สายพานลําเลียงแบบแบน
  3. สายพานลําเลียงแบบโมดูลาร์ (Modular Belt Conveyors)
    สายพานลําเลียงแบบโมดูลาร์เป็นสายพานลําเลียงที่ใช้ชิ้นส่วนพลาสติกแข็งมาเชื่อมหรือต่อกันจนเกิดเป็นสายพานลําเลียง ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถถอดและเปลี่ยนทีละชิ้นได้ มีข้อดีตรงที่หากสายพานลําเลียงเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน ก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะจุด โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งระบบ จึงทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังมีความแข็งแรง
    และทนทานต่อวัตถุที่มีความคมหรือมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนได้มากกว่าประเภทอื่น
    สายพานลําเลียงแบบโมดูลาร์เหมาะสำหรับการใช้งานในบริเวณที่มีมุมต่าง ๆ สามารถใช้การลำเลียงในแนวระนาบ แนวลาดชันและเอียงได้ สามารถปรับแต่งให้บริเวณสายพานมีความกว้างมากกว่าความยาวให้เหมาะสมตามความต้องการได้ ซึ่งสายพานลําเลียงประเภทนี้เหมาะกับ
    การใช้งานกับการลำเลียงผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีการห่อด้วยพลาสติกหรือแผ่นฟิล์ม ผลิตภัณฑ์ที่มีของเหลวเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น


    สายพานลําเลียงแบบโมดูลาร์

  4. สายพานลําเลียงแบบคลีท (Cleated Belt Conveyors)
    สายพานลําเลียงแบบคลีท คือสายพานลําเลียงที่มีแถบนูนขึ้นมา เพื่อใช้กั้นเพื่อแบ่งระยะห่างให้สม่ำเสมอ หรือใช้รองรับวัตถุในกรณีที่อยู่ในแนวลาดชันหรือเอียงเพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามสายพานได้กำหนดโดยไม่เกิดความเสียหาย ซึ่งรูปแบบของสายพานลําเลียงแบบคลีทจะสัมพันธ์กับลักษณะของวัตถุที่ต้องการลำเลียง ตัวอย่างเช่น


    • คลีทตัว T (Inverted Capital T) เหมาะสำหรับการติดตั้งแบบตั้งฉากกับสายพาน เพื่อรองรับวัตถุที่บอบบางและแตกหักง่าย 

    • คลีทตัว L (Leaning Capital L) เป็นรูปแบบที่มีฐานกว้างและโค้งงอได้ เพื่อใช้ตักวัตถุที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ  

    • คลีทรูปตัววีกลับด้าน มีขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว ใช้ติดตั้งกับสายพานเพื่อให้มีลักษณะคล้ายกับรางน้ํา ใช้สําหรับลำเลียงวัตถุที่มีน้ำหนักมากมีขนาดใหญ่และมีฤทธิ์กัดกร่อน

    • ไซด์วอลล์ มีรูปแบบเป็นแถบนูนแบบลอนที่มีความคดโค้ง เพื่อใช้เป็นแถบกั้นและรับน้ำหนักวัตถุที่มีน้ำหนักมาก และลำเลียงในแนวลาดชัน สามารถเลือกระดับความลึกต่างๆ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการใช้งานได้

      สายพานลําเลียงแบบคลีทนิยมใช้ในการลำเลียงถ่านหิน วัสดุก่อสร้าง ธัญพืช สารเคมี และโลหะต่าง ๆ สามารถขนส่งวัสดุที่มีขนาดเล็กแบบเม็ดแบบผง แป้งและของเหลวได้

      สายพานลําเลียงแบบคลีท
  5. สายพานลำเลียงแบบโค้ง (Curved Belt Conveyors)
    สายพานลําเลียงแบบโค้ง
     ใช้สำหรับระบบลำเลียงในบริเวณที่มีมุม บริเวณที่ต้องการเปลี่ยนทิศทาง หรือข้ามสิ่งกีดขวางต่าง ๆ โดยที่สามารถโค้งทำมุมได้ตั้งแต่ 45 องศา 90 องศา 135 องศา และ 180 องศา ช่วยให้การลำเลียงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยไม่ต้องสร้างส่วนสถานีถ่ายโอนเพิ่มเติม ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการรับน้ำหนักมาก 
    จึงนิยมใช้สายพานลําเลียงแบบโค้งในเหมืองแร่ โลหะ อุตสาหกรรมเคมี โรงไฟฟ้า และท่าเรือ เป็นต้น

    สายพานลำเลียงแบบโค้ง
  6. สายพานลำเลียงแบบลาดเอียง (Incline/Decline Belt Conveyors)
    สายพานลําเลียงแบบลาดเอียง จะมีลักษณะพื้นผิวหยาบและไม่สม่ําเสมอ เพื่อใช้ยึดวัสดุและป้องกันกันลื่นไถลของวัตถุ ซึ่งการลำเลียงในมุมลาดเอียงของสายพานชนิดนี้ จะมีตัวขับเคลื่อนตรงกลาง เพื่อส่งกำลังให้สามารถลำเลียงวัตถุในแนวตั้งได้ สามารถใช้งานในการลำเลียงวัตถุขึ้นและลงได้ จึงเหมาะกับการลำเลียงในระดับความสูงต่าง ๆ หรือลำเลียงระหว่างชั้นได้ นอกจากนี้สายพานลําเลียงแบบลาดเอียงจะมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อปรับแต่งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ได้ง่าย อีกทั้งยังมีความแข็งแรงที่สามารถลำเลียงวัตถุได้อย่างปลอดภัย สำหรับสายพานลําเลียงแบบลาดเอียงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป รวมถึงการแปรรูปอาหาร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ บรรจุภัณฑ์ ยาและการแพทย์


    สายพานลำเลียงแบบลาดเอียง
  7. สายพานลําเลียงแบบพิเศษ (Specialty Conveyor Belts)
    สายพานลําเลียงแบบพิเศษ คือสายพานลําเลียงที่ออกแบบมาเฉพาะกับการใช้งานที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เช่น
       
    • สายพานลําเลียงไฟเบอร์กลาส ใช้สำหรับการลำเลียงวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง

    • สายพานลําเลียงแบบมีไฟส่องด้านหลัง คือการติดตั้งไฟ เพื่อส่องลงไปที่บริเวณวัตถุนั้น ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพได้ดีมากขึ้น

    • สายพานลําเลียงแบบสุญญากาศ ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีน้ําหนักเบา (แผ่นกระดาษ แผ่นพับ ฯลฯ) อยู่ในสายการผลิตแม้ว่าจะมีความลาดเอียงและความเร็วสูง

    • สายพานลําเลียงแบบแม่เหล็ก ใช้สำหรับการลำเลียงเหล็ก โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เกิดระยะห่างเท่า ๆ กัน

    • สายพานลําเลียงแบบแซนวิช คือการนำสายพานลําเลียงมาประกบกันคล้ายกับแซนวิช เพื่อลำเลียงให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดบานทางลาดชันหรือแนว

    • สายพานลําเลียงสแตนเลส (WIREMESH CONVEYOR) ใช้สำหรับลำเลียงอาหารให้ผ่านความร้อนเข้าเตาอบ มีความแข็งแรงทนทานสูง

      สายพานลำเลียงแบบพิเศษ

จาก 7 ประเภทสายพานลําเลียง (สายพาน Conveyor Belt) ที่เราได้ยกมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงตัวอย่างประเภทของสายพานคอนเวเยอร์ที่พบได้ทั่วไปเท่านั้น ยังมีประเภทของสายพานลำเลียงรูปแบบอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการลำเลียงวัตถุประเภทใด และมีพื้นที่สำหรับติดตั้งระบบสายพานลำเลียงรูปแบบไหน ซึ่งหากรูปแบบสายพานลําเลียงข้างต้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ของคุณได้ บริษัท ซุปเปอร์ เบลท์ติ้ง คอนเวเยอร์ จำกัด เรามีบริการออกแบบสายพานลำเลียง ติดตั้งระบบสายพานลำเลียงอย่างครบวงจรด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานยาวนาน โดยสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาจากเราได้ตลอด 24 ชม.